พบกับเจ้า Arabian Sand Boa หรือ “งูทรายอาหรับ”
“งูทรายอาหรับ”
สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่า “งู” คงเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่หลายๆ คนนั้นเกรงกลัว ด้วยสายตาอันน่าเกรงกลัว ที่เพียงสบตาก็ทำเอาขนลุกซู่กระนั้นเอง ก็ไม่ใช่ว่างูทุกสายพันธุ์ในโลกนี้จะมีหน้าตาน่ากลัวกันไปเสียหมด เพราะมันยังมีงูบางชนิดที่หน้าตาออกไปทางตลกเหมือนตัวการ์ตูนอีกด้วย!!
พบกับเจ้า Arabian Sand Boa หรือ “งูทรายอาหรับ” เจ้างูที่มีน่าแปลกประหลาด ราวกับหลุดออกมาจากการ์ตูน เพราะมันมีดวงตากลมโตที่เหมือนจะเอาตาของตุ๊กตามาแปะเอาไว้โดยเจ้างูทรายอาหรับตัวนี้เป็นงูที่ไม่มีพิษมีภัยสำหรับมนุษย์ สามารถพบเจอได้ในแถบคาบสมุทรอาหรับมันมักจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลทราย สล็อต สมาชิกใหม่ ดังนั้นพวกมันจึงถือว่าเป็นงูที่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่อุณหภูมิต่างกันในกลางวันและกลางคืนได้มากถึง 50 องศาเลยทีเดียวซึ่งในช่วงกลางวันในขณะที่อุณหภูมิสูง มันจะซ่อนตัวเองไว้ใต้ผืนทราย ส่วนตอนกลางคืน เมื่ออุณหภูมิลดลง จะเป็นเวลาที่พวกมันจะออกมาผจญภัยและหากินนั่นเองพูดถึงอาหารการกินของเจ้างูทรายอาหรับนี้ อาหารอันโอชะก็ไม่พ้นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ง่ายต่อการกลืนกินอย่างพวกกิ้งก่าหรือตุ๊กแกตัวเล็กๆและเจ้างูทรายตัวนี้ ก็ถือว่าเป็นสายพันธุ์พิเศษประจำวงศ์โบอา (Boa) ที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งในวงศ์โบอาจะมีสายพันธุ์ที่ออกลูกเป็นไข่เพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้นและมาพูดถึง
สิ่งที่น่าพูดถึงที่สุดของเจ้างูทรายอาหรับ นั่นก็คือลูกตาของมันนั่นเอง เพราะเป็นดวงตาที่เหมือนกับมีใครเอาตาปลอมมาแปะไว้ที่มันอย่างไรก็ตาม แม้ดวงตาของมันจะแปลกไปกว่าชาวบ้าน แต่ทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ว่าทำไมเป็นอย่างนั้น…
นักวิจัยเผยการศึกษา “หนวดหมึก” อาจช่วยให้เราเข้าใจมนุษย์ต่างดาวมากขึ้น
เชื่อว่าเพื่อนๆ คงจะมีช่วงเวลาที่มอง “หมึก” แล้วเกิดสงสัยขึ้นมาว่าเจ้าสิ่งมีชีวิตตัวนี้มันเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกจริงๆ เหรอขึ้นมากันบ้าง เพราะรูปร่างและอวัยวะอย่างหนวดของสัตว์ตัวนี้นั้น มันช่างเป็นอะไรที่น่าพิศวงเสียจริงๆ
ดังนั้นแล้วคงจะไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับหลายๆ คนเท่าไหร่ที่เมื่อล่าสุดนี้ จะมีงานวิจัยซึ่งบอกว่าเราอาจจะเข้าใจมนุษย์ต่างดาวได้มากขึ้นจากการศึกษาสัตว์ในตระกูลหมึกก็เป็นได้นี่เป็นงานวิจัยของทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งได้รับการนำเสนอในการประชุมชีวดาราศาสตร์ประจำปี 2019 และเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการทำงานของหนวดหมึก ภายใต้แนวคิดที่ว่าหนวดเหล่านี้อาจจะสามารถขยับได้เองโดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยสมองของตัวหมึกด้วยซ้ำโดยในงานวิจัยชิ้นนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของหนวดหมึกต่อสิ่งเร้ารอบๆ โดยละเอียดด้วยการจับภาพแบบพิเศษ ASIAXX1 และโปรแกรมติดตามการเคลื่อนไหวของหนวดแต่ละเส้นพวกเขาค้นพบว่าหนวดของหมึกนั้นสามารถทำงานแยกกันเป็นเอกเทศ ทั้งในการเคลื่อนไหว หาอาหาร สำรวจพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถทำงานร่วมกันเองได้อย่างลื่นไหลเป็นธรรมชาตินักวิจัยคาดว่าที่เป็นแบบนี้เป็นเพราะหนวดของหมึกนั้นมีวงแหวนประสาทแบบพิเศษเรียกว่า “Ganglia” ซึ่งที่สามารถรับข้อมูลจากปุ่มบนหนวด รับรู้ที่อยู่ของหนวดเส้นอื่นๆ และออกคำสั่งให้หนวดทำงานได้เองโดยที่ไม่ต้องผ่านสมองหมึกลักษณะเช่นนี้ ทำให้หนวดทั้ง 8 เส้นของหมึกสามารถเลือกการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดได้เอง โดยที่สมองของมันไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยซ้ำว่าหนวดแต่ละเส้นอยู่ตรงไหน ซึ่งนับเป็นระบบการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจมาก สำหรับการเคลื่อนที่ในพื้นที่กว้างขนาดใหญ่ที่ยากแก่การหาข้างบนข้างล่างอย่างอวกาศนอกจากนี้เอง แม้จะมีระบบการเคลื่อนไหวที่อ้างอิงระบบประสาทเป็นหลัก สัตว์ในตระกูลหมึกเองกลับสามารถแสดงความฉลาดในระดับสูงออกมาให้เห็นได้อยู่ดี อย่างในงานวิจัยของปี 2009 พวกมันก็แสดงให้เห็นแล้วว่าหมึกนั้นฉลาดพอที่จะทำตามคำสั่งที่ได้รับเพื่อรางวัล
ดังนั้นคุณ Dominic Sivitilli เจ้าของงานวิจัยจึงได้ออกมาบอกว่า การทำความเข้าใจระบบประสาทและความคิดสุดซับซ้อนเหล่านี้นั้นอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่เราจะใช้ในการเรียนรู้สิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลกก็เป็นได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น